ชื่อไทย : เอื้องโมกกุหลาบ
ชื่อท้องถิ่น : ดอกผึ้ง(ระนอง) / พญาไร้ใบ, เอื้องโมก(กทม.,ใต้) / พึง(นครพนม) / เอื้องกวาว(ใต้) / เอื้องเทียน(กลาง,เหนือ) / เอื้องฝักโมก(กทม.) 
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Papilionanthe teres (Roxb.) Schltr.
ชื่อวงศ์ : ORCHIDACEAE
ลักษณะวิสัย : กล้วยไม้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น :
กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นเรียว สูงได้ถึง 2 เมตร กิ่งโปร่ง  
ใบ :
เป็นแท่งกลมยาวคล้ายลำต้น ปลายมน ยาว 10-12 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลางใบประมาณ 5 มม.
ดอก :
กลีบเลี้ยงและกลีบดอกแผ่ สีชมพูแกมม่วง โคนกลีบดอกบิดกลับ กลีบปากสีชมพูเข้ม ออกเป็นช่อตั้งหรือเอน ดอกในช่อโปร่ง จำนวน 3-4 ดอก ขนาดบานเต็มที่กว้าง 8-9 ซม.
ผล :
ระยะติดดอก - ผล : ติดดอกตลอดทั้งปี
เริ่มติดผล : สิ้นสุดระยะติดผล :

สภาพทางนิเวศวิทยา : นิเวศวิทยา พบทั่วประเทศตามป่าเปิดที่ราบต่ำ ป่าเบญจพรรณเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันออก ถิ่นกำเนิด การกระจายพันธุ์ อินเดียตอนเหนือ เนปาล สิกขิม ภูฏาน พม่า จีน และเวียดนาม การใช้งานด้านภูมิทัศน์
การปลูกและการขยายพันธุ์ :
รายละเอียดการใช้ประโยชน์ :
แหล่งอ้างอิง : [1] องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2551. กล้วยไม้ไทย 2. Thai Native Orchids 2. พิมพ์ครั้งที่ 1. หจก. วนิดาการพิมพ์. เชียงใหม่. [2] อบฉันท์ ไทยทอง. 2552. กล้วยไม้เมืองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 16. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร.
ประเภทของการใช้ประโยชน์ :
กล้วยไม้
ที่อยู่ :
หมายเหตุ :
รูปพรรณไม้ :
   
Copyright © 2011 Royalpark Rajapruek All rights reserved.
ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
โทร 053-114110-5 แฟกซ์ 053-114196 E-Mail : [email protected]
เริ่มใช้งานระบบเมื่อ 1 มิถุนายน 2554